รู้ก่อนทำ ขยายธุรกิจแฟรนไชส์ มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง ?

ขยายธุรกิจ การขยายกิจการ ขยายสาขาแฟรนไชส์ คือ ปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจอย่างแฟรนไชส์ซอร์เติบโตได้ไว ซึ่งการจะทำธุรกิจให้มีสาขาแฟรนไชส์ได้นั้นจะต้องเริ่มต้นทำธุรกิจให้ของคุณให้เติบโต ทำให้ภาพลักษณ์ของธุรกิจให้ดูมีความเชื่อมั่น น่าลงทุน และดูมีโอกาสในการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง     

แน่นอนว่ากว่าการจะทำธุรกิจให้เติบโตได้ ต้องผ่านการลองผิดลองถูก ผิดพลาดในหลาย ๆ กระบวนการหรือแม้แต่การทำธุรกิจแล้วขาดทุน ร้านเจ๊ง ย่อมเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อธุรกิจของคุณเริ่มคงที่ อยู่ตัวได้ เริ่มมีกำไรมากขึ้น มีคนรู้จักเยอะ ก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นให้มีผู้สนใจในการอยากร่วมลงทุน อยากซื้อแผนธุรกิจเพื่อทำธุรกิจแฟรนไชส์นั่นเอง และสำหรับใครที่ยังไม่เข้าใจในความหมายของแฟรนไชส์ว่าคืออะไร เราก็มีคำตอบมาแชร์ให้กัน  

แฟรนไชส์ (Franchise) คือ การขยายร้านค้าหรือธุรกิจให้มีมากกว่า 1 ร้านค้า/สาขาเพื่อให้ธุรกิจเติบโต โดยมีธุรกิจที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า “แฟรนไชส์ซอร์” (ผู้มีสิทธิในการประกอบธุรกิจ/ต้นฉบับ/ผู้ถือครองรูปแบบธุรกิจ มีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในทางกฎหมาย) ตกลงให้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “แฟรนไชส์ซี” (ผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจ โดยใช้รูปแบบธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ในการประกอบธุรกิจ)  

ขยายธุรกิจ

แน่นอนอยู่แล้วว่าการขยายธุรกิจให้เติบโตยั่งยืนคือการมีผู้สนใจลงทุนซื้อแฟรนไชส์ของคุณไปประกอบธุรกิจ โดยการขยายสาขาแฟรนไชส์นี้ก็ไม่เพียงแต่จะมีข้อดีในการช่วยให้คุณขยายธุรกิจได้ แต่ยังมีข้อควรรู้ที่คุณไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้คุณเสียเปรียบในเชิงธุรกิจแต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรเอาเปรียบผู้ลงทุนเช่นกัน ในวันนี้เราในฐานะผู้ประกอบการ จึงมีแนวทางที่คุณควรรู้ทั้งข้อดี-ข้อเสีย ก่อนการขยายสาขาแฟรนไชส์มาฝากกัน    

……..สนใจอยากมีแฟรนไชส์ชานมไข่มุก สามารถเลือกซื้อวัตถุดิบจากโรงงานผลิตชากาแฟคุณภาพได้เลย สต๊อกแน่น พร้อมส่งด่วนทั่วไทย มีวัตถุดิบให้เลือกมากกว่า 40 รายการ……

ข้อดี-ข้อเสียในการ ขยายธุรกิจ แบบแฟรนไชส์ 

ข้อดีของการขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์ 

  1. เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจเติบโต

การมีสาขาแฟรนไชส์เยอะ จะช่วยให้สินค้าหรือบริการของคุณเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทำให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น จึงช่วยขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว มีโอกาสในการเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยที่คุณไม่ต้องลงทุนในการขยายสาขาแฟรนไชส์เอง  เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์จะเป็นผู้ลงทุนเปิดสาขาและบริหารจัดการหน้าร้านเองจึงช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว

  1. มีช่องทางในการกระจายสินค้า

การมีสาขาแฟรนไชส์เยอะ จะเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าและบริการของธุรกิจได้ดีที่สุด เพราะ ยิ่งมีสาขาแฟรนไชส์มากเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถกระจายสินค้าได้มากตามไปด้วย และเป็นช่องทางที่ทำให้ได้กลุ่มลูกค้าในวงกว้างมากขึ้นตามพื้นที่ต่าง ๆ ของแฟรนไชส์สาขานั้น ๆ โดยจะทำให้แฟรนไชส์ของคุณมีการเข้าถึงลูกค้าง่ายกว่าเดิม

  1. มีอำนาจในการต่อรองในการซื้อวัตถุดิบ

การมีสาขาแฟรนไชส์เยอะเท่ากับว่าคุณจะต้องจัดหาซื้อหรือจัดหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับธุรกิจของคุณ และเพื่อไม่ให้แฟรนไชส์แต่ละสาขาขาดแคลนวัตถุดิบในการประกอบกิจการ ซึ่งเมื่อมีแฟรนไชส์ซีเยอะมากเท่าไหร่ ในฐานะเจ้าของธุรกิจหรือแฟรนไชส์ซอร์คุณก็จะมีอำนาจในการต่อรองซื้อวัตถุดิบหรืออุปกรณ์จากแหล่งขายได้ในราคาที่ถูกลง เนื่องจากคุณจะต้องซื้อวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ในปริมาณที่มากขึ้นนั่นเอง 

  1. ได้รับค่าตอบแทนจากการขายแฟรนไชส์  

การมีผู้ลงทุนซื้อสาขาแฟรนไชส์เท่ากับว่าเจ้าของแฟรนไชส์ไม่จำเป็นต้องลงทุนเอง เพราะผู้ซื้อจะเป็นผู้ลงทุนและจัดการหน้าร้านด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ นอกจากไม่ต้องเสียเงินลงทุนเองแล้ว โดยเจ้าของแฟรนไชส์ยังจะได้รับค่าตอบแทนจากการขายแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าธรรมเนียม และเจ้าของธุรกิจบางคนยังมีเงื่อนไขอื่น อย่างการเก็บส่วนแบ่งยอดขาย ค่าใช้จ่ายทางการตลาดเพื่อทำการโปรโมทอีกด้วย  

การขยายแฟรนไชส์จึงนับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจหรือแบรนด์นั้น ๆ เติบโตได้อย่างรวดเร็ว และเพื่อรักษามาตรฐานของธุรกิจ แฟรนไชส์ซอร์จึงควรมีคู่มือในการประกอบธุรกิจ เพื่อสามารถที่จะควบคุมวัตถุดิบ ควบคุมสินค้าและบริการได้นั่นเอง  และการขยายสาขาแฟรนไชส์นี้ไม่เพียงแต่จะมีข้อดีเท่านั้น แต่ยังมีข้อควรรู้ก่อนการขยาย มีหลายเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อนำเสนอแนวทางข้อดีแล้วเราก็ไม่พลาดที่จะนำเสอข้อเสียให้รู้เช่นกัน 

ขยายธุรกิจ

ข้อเสียของการขยายธุรกิจ แบบแฟรนไชส์ 

  1. ต้องเปิดเผยแผนธุรกิจ 

ขยายธุรกิจ ขยายสาขา เมื่อเจ้าของธุรกิจต้องการมีสาขาแฟรนไชส์มากเท่าไหร่ ก็เท่ากับว่าต้องมีการเปิดเผยแผนธุรกิจมากเท่านั้น โดยแฟรนไชส์ซอร์จะต้องมีการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ซึ่งผู้ซื้อสิทธิ์สามารถนำแผนธุรกิจที่ได้รับไปปรับใช้หรือพัฒนาเป็นสูตรของตนเอง นำมาสู่การเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของคุณในอนาคตได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรที่จะต้องกำหนดกฎระเบียบให้ครอบคลุม

  1. ต้องมีคอร์สอบรม

การทำธุรกิจจนเปิดสาขาแฟรนไชส์ได้ แน่นอนว่าสาขาแฟรนไชส์เองก็ต้องมีมาตรฐานทั้งสินค้าและการบริการที่เหมือนกับสาขาใหญ่ ฉะนั้นแล้วเจ้าของแฟรนไชส์จึงต้องมีการแชร์เคล็ดลับหรือวิธีการทำธุรกิจให้กับแฟรนไชส์ซี ต้องมีคอร์สสอนอบรม มีการเทรนงานหรือสอนการปฎิบัติอย่างจริงจัง ซึ่งเท่ากับว่าจะต้องมีทักษะในการเทรนงาน การเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ด้วย    

  1. ต้องรับผิดชอบในเรื่องวัตถุดิบ

ยิ่งมีสาขาแฟรนไชส์เยอะก็จะต้องยิ่งรับผิดชอบในเรื่องของวัตถุดิบมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อเจ้าของแฟรนไชส์ต้องเป็นผู้จัดหาให้เอง ยิ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบธุรกิจควรต้องหาโรงงานหรือแหล่งผลิตที่มีกำลังการผลิตสูง ไม่ขาดแคลนสต็อก และพร้อมจัดส่งให้ได้ทุกเมื่อเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ในทุก ๆ สาขาที่มี

  1. ต้องรับมือกับปัญหาที่กระทบกับแฟรนไชส์ได้ 

แน่นอนอยู่แล้วว่าการทำทำธุรกิจย่อมมีปัญหาตามมา โดยเฉพาะกับธุรกิจที่มีสาขาแฟรนไชส์จำนวนมาก เพราะแฟรนไชส์แต่ละสาขาอาจเจอปัญหาที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเชิงธุรกิจ หรือปัญหาอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย เรื่องที่ทำให้เสื่อมเสีย แม้แต่อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด การเป็นแฟรนไชส์ซอร์จึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ รับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหรือเป็นที่ปรึกษาให้กับแฟรนไชส์ซีได้เป็นอย่างดี 

เพราะการประกอบธุรกิจให้เติบโตคือการวางแผนธุรกิจอย่างมีระเบียบแบบแผน ยิ่งเมื่อคุณเป็นเจ้าของแบรนด์ เจ้าของธุรกิจที่ต้องการขยายธรุกิจด้วยการเปิดแฟรนไชส์ นอกจากข้อดีที่จะช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนก็ย่อมมีข้อเสียอยู่ด้วย แต่หากคุณเตรียมพร้อม มีระบบจัดการที่ดี สามารถวางแผนและควบคุมสาขาแฟรนไชส์ได้ก็จะช่วยให้พบปัญหาน้อยลง และจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นมืออาชีพ

เป็นยังไงกันบ้าง ? กับข้อควรรู้ทั้งข้อดี-ข้อเสีย ก่อนการตัดสินใจขยายธุรกิจด้วยการเปิดรับผู้ลงทุนซื้อแฟรนไชส์ หากใครที่กำลังอยากมีธุรกิจ อยากขยายสินค้าและบริการให้เป็นที่รู้จักกำลังกังวลกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ก็สามารถนำแนวทางที่เรามาแชร์ให้กันในวันนี้ไปพิจารณาและปรับให้เข้ากับแผนธุรกิจของคุณกันได้เลย จะทำแฟรนไชส์ชานมไข่มุก แฟรนไชส์ขนมหวาน แฟรนไชส์เครื่องซักผ้า ก็นำไปปรับใช้กันได้เลย